3.การผลิต Working up
การทำแผ่นแซนด์วิชประกบสองด้าน โดยมีแผ่นนิด้าพลาสตรงกลาง สามารถทำได้ทั้งการเคลือบผิวโดยตรงหรือการใช้กาวยึดติดบนผิว
3.1 การเคลือบผิว Lamination
การติดแผ่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์บนแผ่นนิด้าพลาส เป็นการเตรียมพื้นผิวสำหรับการเคลือบด้วยโพลีเอสเตอร์เรซิ่น ซึ่งแข็งตัวด้วยตัวแข็ง อย่างไรก็ตามสำหรับเรซิ่นชนิดอื่นๆซึ่งมีอยู่อย่างมากมายควรตรวจสอบการยึดเกาะกับแผ่นนิด้าพลาส
-สำหรับวิธีการโดยทั่วไป (การใช้มือ การใช้เครื่องพ่น การใช้เครื่องดูดอากาศ การใช้เครื่องกด การฉีดด้วยแรงดันต่ำ) ขั้นตอนการผลิตและเครื่องมือที่มีใช้อยู่แล้วนั้น สามารถปรับใช้เพียงเล็กน้อยสำหรับแผ่นนิด้าพลาส เพื่อผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการผลิต
-ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์นิด้าพลาส นิด้าพลาส 8 เหมาะที่สุดสำหรับการเคลือบผิว ที่จริงแล้วแผ่นนิด้าพลาส 8 มีแผ่นฟิล์มซึ่งติดอยู่ใต้แผ่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ซึ่งป้องกันการผ่านของเรซิ่นไปยังผนังเซลล์
-ในการผลิตแผ่นแซนด์วิช จำต้องมีการยึดเกาะที่ดีระหว่างผิวทั้งสองหน้ากับแผ่นเซลล์ตรงกลาง ดังนั้นในการผลิตแผ่นแซนด์วิชจำต้องมีการตรวจสอบดังต่อไปนี้
-ต้องมีการดูดซับที่ดี ระหว่างเรซิ่นกับแกนและผิวที่ต้องการปิด
-มีการยึดเกาะที่ดี ระหว่างรังผึ้งและผิว เช่น การใช้แรงกด
ขั้นตอนการผลิตแผ่นแซนด์วิชประกบแผ่นนิด้าพลาสเป็นแกนกลาง
- 1) เริ่มต้นด้วยขั้นตอนปกติคือทำผิวชั้นแรกของแผ่นแซนด์วิช (โดยทาเจลโค้ตบนโมลด์แล้วลงชั้นใยแก้วและลงเรซิ่น)
- 2) ที่ผิวชั้นสุดท้ายก่อนที่เรซิ่นจะแข็งตัว วางแผ่นนิด้าพลาสตรงแกนกลาง และเพิ่มน้ำยาเรซิ่นอีก 400 กรัม/ตารางเมตร โดยทาบนผิวของแผ่นนิด้าพลาส และบนแผ่นใยแก้วปกติ โดยใช้วิธีการใช้มือทา (HAND LAY UP)
-ในกรณีที่เป็นการผลิตในโรงงานจำนวนมาก ๆ หรือ การผลิตแผ่นงานขนาดบางและต้องการคุณภาพของผิวหน้าแผ่นงานที่ดี อาจจะต้องพ่นเจลโค้ตและชั้นของไฟเบอร์กลาสและเรซิ่นลงหนึ่งชั้นหรือหลายชั้น ในขณะที่การทำปฏิกิริยาการแข็งตัวของเรซิ่นจบลง ในชั้นสุดท้ายของการลงแผ่นไฟเบอร์กลาสและเรซิ่น วางแผ่นนิด้าพลาสตรงกลาง และเพิ่มน้ำยาเรซิ่นอีก 400 กรัม/ตารางเมตร ซึ่งเคยอธิบายไว้ก่อนหน้านี้ และควรใช้เรซิ่นโพลีเอสเตอร์ที่มีการหดตัวน้อยเป็นกาว
- 3) สำหรับแผ่นนิด้าพลาส ควรมีการเคลือบชั้นใยแก้ว-เรซิ่นในชั้นที่ 2 ก่อนและต้องเพิ่มเรซิ่นเพื่อให้ซึมกับแผ่นผิวของนิด้าพลาส
อีก 400 กรัม/ตารางเมตร เพื่อให้การดูดซับบนแผ่นนิด้าพลาส และแน่ใจว่ามีการยึดติดของการเคลือบผิวเต็มที่
-ถ้าจำเป็นต้องใช้เจลโค้ตทั้ง 2 ด้าน ของแผ่นแซนด์วิช คือโมลด์แม่และโมลด์ตรงกันข้าม ควรทำผิวในชั้นแรกของโมลด์ทั้งสองก่อนแล้วจึงติดแผ่นนิด้าพลาส ดังที่อธิบายไว้แล้ว
-การเทเรซิ่นจำนวนมากบนแผ่นนิด้าพลาสโดยไม่สามารถกระจายเรซิ่นได้ในทันที ให้ระมัดระวังการไหลของเรซิ่นลงไปในช่องเซลล์ของนิด้าพลาส ตามแนวโน้มถ่วงโลก
-แผ่นนิด้าพลาสเป็นฉนวนกันความร้อนในตัว การใช้เรซิ่นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยามีความร้อนสูงควรจะหลีกเลี่ยง เพราะอาจไปทำลายชั้นผิวที่เคลือบไว้หรือเกิดฟองอากาศภายในได้
-แผ่นไฟเบอร์กลาสชนิดเสื่อ (FIBERGLASS MAT) ควรใช้เป็นชั้นที่ติดกับผิวผ้าบนแผ่นนิด้าพลาส
- 4) วิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ดี คือการใช้การกระจายแรงดันให้ทั่วแผ่นในการผลิต เช่น ระบบการดูดอากาศ (VACEUM) การใช้แรงกดอัด (PRESS) การใช้น้ำหนักกดทับ (WEIGHT) อื่น ๆ
-การทำด้วยมือเป็นวิธีที่ทำได้ แต่การยึดติดที่ดีของแผ่นไฟเบอร์กับนิด้าพลาส ควรแน่ใจว่ามีการซึมซับน้ำยาทั่วไปในแผ่นนิด้าพลาส โดยใช้แรงกดด้วยมือบนแผ่นนิด้าพลาสในขณะการเชื่อมต่อ เช่นเดียวกับวิธีการใช้วิธีการพ่นด้วยเครื่องพ่นเรซิ่นและไฟเบอร์ ควรให้แน่ใจว่าซึมน้ำยาทั่วบนแผ่นนิด้าพลาส การตรวจสอบการเชื่อมต่อสามารถตรวจดูได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นการกดไล่ฟองอากาศให้หมดไปในชั้นเรซิ่นและไฟเบอร์ ควรทำอย่างยิ่ง ด้วยระบบการใช้แรงดันในการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
แผ่นนิด้าพลาส 8 สามารถใช้กับเครื่อง อาร์ ที เอ็ม ขั้นตอนการผลิตขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ เช่น เครื่องฉีด, อุณหภูมิ, การไหลของน้ำยา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางเราได้
3.2 การติดกาว (GLUING)
-สำหรับแผ่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ บนแผ่นนิด้าพลาส แน่นอนว่าจะยึดติดกาวได้ดีบนพื้นผิวแข็ง เช่น ไม้ แผ่นเมลามีน แผ่นหินอ่อน คอนกรีต หรือ เหล็ก
-กาวที่ใช้จะขึ้นกับพื้นผิวของวัสดุที่กาวติด และข้อมูลของวัสดุทางกายภาพ(PHYSICAL)และกลศาสตร์(MECHANICAL)ของแผ่นชิ้นงานที่ติด กาวมากมายหลายชนิดสามารถใช้ทดสอบบนแผ่นนิด้าพลาส เช่น กาวโพลียูรีเทน, อีพ็อกซี, กาวนีโอปลีน, ไวนิล, โพลีเอสเตอร์ กาวยูเรียฟอร์มอร์ (POLYURETHANE, EPOXY, NEOPRENE, VINYL, POLYESTER, UREAFORMOL)
-อย่างไรก็ตาม การเลือกชนิดของกาว ควรแน่ใจว่าจะสามารถเข้ากับวัสดุต่างชนิดและมีคุณสมบัติเข้ากับการใช้เครื่องมือ การผลิตแผ่นแซนด์วิช กาวโพลียูริเทน หรือกาวอีพ็อกซีชนิด 2 ส่วน มักจะถูกเลือกใช้ และมีคุณลักษณะเข้ากับเครื่องมือการผลิตได้ดี และมีการยึดเกาะได้กับวัสดุส่วนใหญ่
- ขั้นตอนการใช้กาวในการผลิตแผ่นแซนด์วิชบนแผ่นนิด้าพลาส
-ตามคู่มือจากโรงงานผลิต ปริมาณกาวที่ใช้บนแผ่นชิ้นงานบนแผ่นนิด้าพลาส ให้ใช้กาวโพลียูรีเทนประมาณ 400 กรัม /ตารางเมตร ในแต่ละด้านของแผ่นนิด้าพลาส
-ใช้วิธีการเดียวกัน สำหรับการใช้กาวในชั้นที่สอง หรือในด้านที่สองของแผ่นนิด้าพลาส
-สำหรับแรงกดบนกาวใช้ อัตราอย่างต่ำ 0.2 บาร์ และสูงสุดที่ 1 บาร์ แล้วปล่อยให้กาวแข็งตัว ตามรายละเอียดของคู่มือจากโรงงานผลิตกาว
-คุณสมบัติของการทำแผ่นแซนด์วิช จำเป็นต้องมีการยึดเกาะที่แน่นระหว่างแกนกับผิว ดังนั้นเมื่อใช้กาวติดยึดควรมีการเช็คตรวจสอบความแข็งแรงหลังจากกาวแข็งตัวดีแล้ว
หมายเหตุ: ช่องของแผ่นนิด้าพลาส เมื่อถูกกาวผิวอาจจะทะลุได้หากแผ่นปิดผิวบางเกินไปหรือไม่แข็งพอ การทะลุของกาวจะเป็นผลเสียได้จากการใช้แรงดันอัดกาวมากเกินไป หรือ จากการหดตัวของกาว ขณะกาวแห้งลง
3.3 WORKING UP PREPREGS
การหลอมเหลวของพลาสติกโพลีโพรไพลีน ที่อุณหภูมิสูงที่ 125 ๐C ทำให้สามารถใช้วิธี PREPREGS ได้ (ที่อุณหภูมิ 100๐C แผ่นนิด้าพลาสสามารถทนแรงอันที่ 1 da N/c,2 ได้)
-ตำแหน่งในการ perpregs บนแผ่นนิด้าพลาส การใช้แรงดันที่อุณหภูมิต้องการเพื่อให้เกิดการหลอมใหม่ในช่วงเวลาที่ต้องการ ต้องตรวจสอบด้วยว่าจะไม่มีการพังลงมาของแผ่นนิด้าพลาส เนื่องจากการลื่นไหล อาจแก้ปัญหาโดยการวางแผ่นรองที่บาง ๆ น้อยกว่าความหนาของแผ่นนิด้าพลาส ในตำแหน่งที่ต้องการยึดไม่ให้เกิดการลื่นไหลของงาน
-การถอดโมลด์ไม่ควรใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะอาจจะทำลาย หรือทำให้การเคลือบแผ่นนิด้าพลาสหลุดออกมาได้
|