Home   |  About Us  |  Composite Products  |   Fumigation Products   |   Contact us       
Composite Products
Fiber Glass ใยแก้ว ใยสาน ใยเส้น ใยผิว ใยผ้า อื่นๆ
Resin & Gelcoat โพลีเอสเตอร์ ไวนิลเอสเตอร์ อีพ๊อกซีเรซิ่น
Nord Composites เรซิ่น และเจลโค้ท สำหรับทำโมลด์ ทำเรือ  
Formosa Taffeta Cabon Fiber คาร์บอนไฟเบอร์ เคฟล่าร์
 Lantor Soric แผ่นโพลีเอสเตอร์เสริมความหนา แลนทอร์ คอร์แมท
Diab Group แผ่นพีวีซีโฟมเสริมความหนา ไม้บราซ่า
Nidaplast แผ่นรังผึ้งพลาสติกโพลีโพไพรลีน ไนด้าพลาส  
NJ Robinson เครื่องพ่นเจลโค้ท เรซิ่น พ่นใยแก้ว จีอาร์ซี
Axelplastic  น้ำยาล้างโมล ถอดแบบโมล ชนิดน้ำและแบบกึ่งถาวร      
Farécla น้ำยาขัดหยาบ ขัดละเอียด ขัดเงา และเคลือบกันแสง UV
Vacuum Baggingแบกกิ้งฟิลม์ พิวพาย ซีแลนท์เทป
Resuable Silicone Bagging ระบบซิลิโคนแว็คคั่ม
Others Materials แว็กถอดแบบ โมโน อะซิโทน ตัวแข็ง โคบอลท์ อื่นๆ
Fumigation Products
Fumigation Products สารรม ยาอบมอด และสารรมกำจัดแมลง
Fumigation Tools  อุปกรณ์และเครื่องมือรม ยาอบมอด
Fumigation Services บริการรมยากำจัดศัตรูพืช
Knowledge
ความรู้การทำแผ่นรังผึ้งแซนวิช Honeycomb sandwich
News and Activities

การฝึกอบรมการเคลือบรูป3D Coating surface by I-Coat Ice resin วันที่ 15 September 2018

การฝึกอบรม การผลิตชิ้นงานคอนกรีตผสมใยแก้ว Concrete decor by GRC วันที่ 24-25 August 2017

สั่งซื้อสินค้า Online

 
 
 
Find us on Facebook click!
 

เพิ่มเพื่อน
Line official: @neotech

  

 LINE it! Titichaya Line ID: 0863746588

Jinnimas Line ID: 0863369614
Varaporn Line ID: yah....
Yuwanda Line ID : neotech-alp
pakawadee Line ID : pakawadee29
 
 
  Neotech Inspection & Chemical Co.,Ltd.
 
  
 

การใช้งานแผ่นนิด้าพลาส Working with Nidaplast Honeycomb

นิด้าพลาส คือ แผ่นพลาสติกโพลีโพรไพรีนรูปรังผึ้งปิดหน้าด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ชนิดอ่อนนุ่ม มีขนาด 2500 x 1200 มิลลิเมตร ซึ่งการเคลือบด้วยเส้นใยดังกล่าว ทำให้สามารถเคลือบผิวด้วยเรซิ่นหรือติดกาว ได้โดยตรงอย่างง่ายดาย

แผ่นนิด้าพลาสมีคุณสมบัติที่เบาและยืดหยุ่นได้ดี และง่ายต่อการทำแซนด์วิช (Sandwich panels) คือการประกบสองด้าน และสามารถใช้เทคนิคธรรมดาในการตัด เคลือบผิว และใช้กาวติดยึด เนื่องจากเป็นพลาสติกที่หลอมละลายและแข็งตัวใหม่ได้ทำให้มีคุณสมบัติคืนรูปได้ (Thermoplastic product) ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะที่ง่ายต่อการใช้งาน

 

 

 

1. การตัดและการใช้เครื่องมือ  Cutting and Machining

1.1 การตัด Cutting นิด้าพลาส สามารถตัดโดยวิธีการตัดด้วยเลื่อย  และเชื่อมต่อด้วยความร้อนเนื่องจากคุณสมบัติที่คืนรูปได้ของพลาสติก

  • การใช้เลื่อย Saws เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแตก หรือหลอมละลายขณะตัด วิธีดีที่สุดควรใช้เลื่อยขนาด 10-ฟันเลื่อยต่อนิ้ว
    การใช้เลื่อยวงเดือนขนาด 13 มิลลิเมตร จะเหมาะสำหรับการตัดเป็นแนวตรง ขนาด 8 มิลลิเมตร จะเหมาะสำหรับการตัดเป็นแนวโค้ง
  • โครงสร้างใยรังผึ้ง Webs สามารถทำได้ด้วยการตัดด้วยคัดเตอร์ แต่หากเป็นการตัดเพื่อมีการเสริมแรงหรือการตัดเป็นแนวโค้ง ควรใช้มีดตัดแต่งโดยเฉพาะ (Grafting knife)
  • การใช้ลวดร้อน Hotwire การตัดโดยใช้ลวดร้อนที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส จะเกิดช่องกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร

1.2 การใช้เครื่องมือ Machining

  • อุณหภูมิปกติ เครื่องมือสำหรับงานไม้ เช่น เลื่อยไม้ เครื่องตัดไม้  สามารถดัดแปลงมาใช้ตัดโครงสร้างใยรังผึ้งได้ และควรเพิ่มความเร็วได้ (หากมีความเร็วต่ำเกินไป จะทำให้ใยรังผึ้งนิด้าพลาสแตกได้ หากมีความเร็วสูงเกินไป จะทำให้เกิดการละลายแผ่นรังผึ้งได้
  • อุณหภูมิสูง   อีกวิธีหนึ่งในการใช้คุณสมบัติการคืนรูปได้ จะทำให้อ่อนลงโดยใช้ความร้อน

1) แผ่นผนังเซลล์ของนิด้าพลาสจะหลอมละลายที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ในขณะที่เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ปิดผิว จะหลอมละลายที่อุณหภูมิ 240 องศาเซลเซียส

        - ดังนั้นหากใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส จะหลอมละลายเฉพาะโครงสร้างที่ต้องการ โดยใช้แท่นความร้อน ซึ่งจะไม่ทำลายผิวหน้าของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ดังรูป





2) การตัดเป็นอีกวิธีที่ใช้ในการตัดตามลักษณะที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงเชื่อมต่อเส้นใยผ้าโพลีเอสเตอร์ภายหลัง

ตัวอย่างการตัดขอบ ดังรูปต่อไปนี้


ส่วนที่ตัด


ความร้อนเชื่อมต่อที่ 230 องศา


เส้นใยโพลีเอสเตอร์

 

  • การตัดมุมลาดเอียง 45 องศา

          ส่วนที่ตัด


    ความร้อนเชื่อมต่อที่ 230 องศา


    เส้นใยโพลีเอสเตอร







2. การประกอบขึ้นรูป Forming

2.1  การขึ้นรูปด้วยวิธีเย็น Cold forming
การปิดผิวด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์บนแผ่นนิด้าพลาสทั้งแผ่น ทำให้ทำการขึ้นรูปได้ง่าย โดยการใช้แรงอัดธรรมดา
-ในแผ่นมาตรฐาน แรงอัดขนาด 0.2 – 0.8 บาร์ สามารถขึ้นรูปในช่วงเวลาการทำปฏิกิริยาแข็งตัวของโพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือระหว่างการแข็งตัวของกาว โดยการกดลงบนโมลด์ด้วยเครื่องดูดอากาศ(Vacuum) หรือใช้แรงกดจากโมลด์ตรงกันข้าม
-ในกรณีแผ่นงานเรือ (มีการตัดผิวหน้าออกเป็นตาราง 5x5 เซนติเมตร) สามารถใช้โมลด์ ตามปกติทั่วไปได้

2.2 การขึ้นรูปด้วยวิธีร้อนและการทำให้อ่อนตัวก่อนการขึ้นรูป Hot forming and performing

อีกเช่นเคยที่คุณสมบัติการคืนรูปได้ทำให้ง่ายต่อการขึ้นรูปด้วยความร้อน
การอบโมลด์ด้วยความร้อนที่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส จะทำให้แผ่นนิด้าพลาสอ่อนลง และใช้แรงเพียงเล็กน้อยในการขึ้นรูปร่างตามต้องการได้อย่างง่ายดาย

นิด้าพลาสสามารถขึ้นรูปด้วยความร้อนได้ 2 วิธี

  • อุ่นด้วยความร้อนในเตาที่อุณหภูมิ 140-150 องศาเซลเซียส แล้วขึ้นรูปด้วยโมลด์เย็น
  • ขึ้นรูปด้วยโมลด์ร้อนที่อุณหภูมิ 130-150 องศาเซลเซียส

ในทั้งสองวิธี เพียงเก็บแผ่นนิด้าพลาส ให้เย็นลงก็จะได้แผ่นตามรูปร่างที่ต้องการ
วิธีการทั้งหมด อุณหภูมิ แรงดัน และเวลา ควรที่จะคำนวณตามรูปร่าง ขนาด ความหนา ของแผ่นนิด้าพลาส

 

3.การผลิต Working up

การทำแผ่นแซนด์วิชประกบสองด้าน โดยมีแผ่นนิด้าพลาสตรงกลาง สามารถทำได้ทั้งการเคลือบผิวโดยตรงหรือการใช้กาวยึดติดบนผิว

3.1 การเคลือบผิว Lamination

การติดแผ่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์บนแผ่นนิด้าพลาส เป็นการเตรียมพื้นผิวสำหรับการเคลือบด้วยโพลีเอสเตอร์เรซิ่น ซึ่งแข็งตัวด้วยตัวแข็ง อย่างไรก็ตามสำหรับเรซิ่นชนิดอื่นๆซึ่งมีอยู่อย่างมากมายควรตรวจสอบการยึดเกาะกับแผ่นนิด้าพลาส

-สำหรับวิธีการโดยทั่วไป (การใช้มือ การใช้เครื่องพ่น การใช้เครื่องดูดอากาศ การใช้เครื่องกด การฉีดด้วยแรงดันต่ำ) ขั้นตอนการผลิตและเครื่องมือที่มีใช้อยู่แล้วนั้น สามารถปรับใช้เพียงเล็กน้อยสำหรับแผ่นนิด้าพลาส เพื่อผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการผลิต
-ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์นิด้าพลาส นิด้าพลาส 8 เหมาะที่สุดสำหรับการเคลือบผิว ที่จริงแล้วแผ่นนิด้าพลาส 8 มีแผ่นฟิล์มซึ่งติดอยู่ใต้แผ่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ซึ่งป้องกันการผ่านของเรซิ่นไปยังผนังเซลล์
-ในการผลิตแผ่นแซนด์วิช จำต้องมีการยึดเกาะที่ดีระหว่างผิวทั้งสองหน้ากับแผ่นเซลล์ตรงกลาง ดังนั้นในการผลิตแผ่นแซนด์วิชจำต้องมีการตรวจสอบดังต่อไปนี้
-ต้องมีการดูดซับที่ดี ระหว่างเรซิ่นกับแกนและผิวที่ต้องการปิด
-มีการยึดเกาะที่ดี ระหว่างรังผึ้งและผิว เช่น การใช้แรงกด

ขั้นตอนการผลิตแผ่นแซนด์วิชประกบแผ่นนิด้าพลาสเป็นแกนกลาง

  • 1) เริ่มต้นด้วยขั้นตอนปกติคือทำผิวชั้นแรกของแผ่นแซนด์วิช  (โดยทาเจลโค้ตบนโมลด์แล้วลงชั้นใยแก้วและลงเรซิ่น)
  • 2) ที่ผิวชั้นสุดท้ายก่อนที่เรซิ่นจะแข็งตัว วางแผ่นนิด้าพลาสตรงแกนกลาง และเพิ่มน้ำยาเรซิ่นอีก  400  กรัม/ตารางเมตร  โดยทาบนผิวของแผ่นนิด้าพลาส และบนแผ่นใยแก้วปกติ โดยใช้วิธีการใช้มือทา  (HAND LAY UP)

-ในกรณีที่เป็นการผลิตในโรงงานจำนวนมาก  ๆ  หรือ  การผลิตแผ่นงานขนาดบางและต้องการคุณภาพของผิวหน้าแผ่นงานที่ดี  อาจจะต้องพ่นเจลโค้ตและชั้นของไฟเบอร์กลาสและเรซิ่นลงหนึ่งชั้นหรือหลายชั้น  ในขณะที่การทำปฏิกิริยาการแข็งตัวของเรซิ่นจบลง  ในชั้นสุดท้ายของการลงแผ่นไฟเบอร์กลาสและเรซิ่น วางแผ่นนิด้าพลาสตรงกลาง และเพิ่มน้ำยาเรซิ่นอีก 400 กรัม/ตารางเมตร ซึ่งเคยอธิบายไว้ก่อนหน้านี้ และควรใช้เรซิ่นโพลีเอสเตอร์ที่มีการหดตัวน้อยเป็นกาว

  • 3) สำหรับแผ่นนิด้าพลาส ควรมีการเคลือบชั้นใยแก้ว-เรซิ่นในชั้นที่ 2 ก่อนและต้องเพิ่มเรซิ่นเพื่อให้ซึมกับแผ่นผิวของนิด้าพลาส

อีก  400  กรัม/ตารางเมตร  เพื่อให้การดูดซับบนแผ่นนิด้าพลาส และแน่ใจว่ามีการยึดติดของการเคลือบผิวเต็มที่ 
-ถ้าจำเป็นต้องใช้เจลโค้ตทั้ง 2 ด้าน  ของแผ่นแซนด์วิช  คือโมลด์แม่และโมลด์ตรงกันข้าม ควรทำผิวในชั้นแรกของโมลด์ทั้งสองก่อนแล้วจึงติดแผ่นนิด้าพลาส ดังที่อธิบายไว้แล้ว
-การเทเรซิ่นจำนวนมากบนแผ่นนิด้าพลาสโดยไม่สามารถกระจายเรซิ่นได้ในทันที ให้ระมัดระวังการไหลของเรซิ่นลงไปในช่องเซลล์ของนิด้าพลาส  ตามแนวโน้มถ่วงโลก
-แผ่นนิด้าพลาสเป็นฉนวนกันความร้อนในตัว การใช้เรซิ่นที่ทำให้เกิดปฏิกิริยามีความร้อนสูงควรจะหลีกเลี่ยง เพราะอาจไปทำลายชั้นผิวที่เคลือบไว้หรือเกิดฟองอากาศภายในได้
-แผ่นไฟเบอร์กลาสชนิดเสื่อ  (FIBERGLASS MAT)  ควรใช้เป็นชั้นที่ติดกับผิวผ้าบนแผ่นนิด้าพลาส

  • 4) วิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ดี  คือการใช้การกระจายแรงดันให้ทั่วแผ่นในการผลิต  เช่น  ระบบการดูดอากาศ  (VACEUM)  การใช้แรงกดอัด  (PRESS)  การใช้น้ำหนักกดทับ  (WEIGHT)  อื่น  ๆ

-การทำด้วยมือเป็นวิธีที่ทำได้  แต่การยึดติดที่ดีของแผ่นไฟเบอร์กับนิด้าพลาส  ควรแน่ใจว่ามีการซึมซับน้ำยาทั่วไปในแผ่นนิด้าพลาส  โดยใช้แรงกดด้วยมือบนแผ่นนิด้าพลาสในขณะการเชื่อมต่อ  เช่นเดียวกับวิธีการใช้วิธีการพ่นด้วยเครื่องพ่นเรซิ่นและไฟเบอร์ ควรให้แน่ใจว่าซึมน้ำยาทั่วบนแผ่นนิด้าพลาส การตรวจสอบการเชื่อมต่อสามารถตรวจดูได้ด้วยตาเปล่า  ดังนั้นการกดไล่ฟองอากาศให้หมดไปในชั้นเรซิ่นและไฟเบอร์ ควรทำอย่างยิ่ง ด้วยระบบการใช้แรงดันในการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง

  • อาร์ ที เอ็ม  (RTM)

แผ่นนิด้าพลาส  8 สามารถใช้กับเครื่อง  อาร์ ที เอ็ม  ขั้นตอนการผลิตขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้  เช่น  เครื่องฉีด, อุณหภูมิ,  การไหลของน้ำยา  สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางเราได้

3.2 การติดกาว  (GLUING)

-สำหรับแผ่นเส้นใยโพลีเอสเตอร์  บนแผ่นนิด้าพลาส  แน่นอนว่าจะยึดติดกาวได้ดีบนพื้นผิวแข็ง  เช่น  ไม้  แผ่นเมลามีน  แผ่นหินอ่อน  คอนกรีต  หรือ เหล็ก
-กาวที่ใช้จะขึ้นกับพื้นผิวของวัสดุที่กาวติด  และข้อมูลของวัสดุทางกายภาพ(PHYSICAL)และกลศาสตร์(MECHANICAL)ของแผ่นชิ้นงานที่ติด  กาวมากมายหลายชนิดสามารถใช้ทดสอบบนแผ่นนิด้าพลาส  เช่น  กาวโพลียูรีเทน, อีพ็อกซี, กาวนีโอปลีน, ไวนิล, โพลีเอสเตอร์  กาวยูเรียฟอร์มอร์  (POLYURETHANE, EPOXY, NEOPRENE, VINYL, POLYESTER, UREAFORMOL)
-อย่างไรก็ตาม  การเลือกชนิดของกาว  ควรแน่ใจว่าจะสามารถเข้ากับวัสดุต่างชนิดและมีคุณสมบัติเข้ากับการใช้เครื่องมือ  การผลิตแผ่นแซนด์วิช  กาวโพลียูริเทน  หรือกาวอีพ็อกซีชนิด  2  ส่วน  มักจะถูกเลือกใช้  และมีคุณลักษณะเข้ากับเครื่องมือการผลิตได้ดี  และมีการยึดเกาะได้กับวัสดุส่วนใหญ่

 

  • ขั้นตอนการใช้กาวในการผลิตแผ่นแซนด์วิชบนแผ่นนิด้าพลาส

-ตามคู่มือจากโรงงานผลิต  ปริมาณกาวที่ใช้บนแผ่นชิ้นงานบนแผ่นนิด้าพลาส ให้ใช้กาวโพลียูรีเทนประมาณ  400 กรัม /ตารางเมตร  ในแต่ละด้านของแผ่นนิด้าพลาส

-ใช้วิธีการเดียวกัน สำหรับการใช้กาวในชั้นที่สอง หรือในด้านที่สองของแผ่นนิด้าพลาส

-สำหรับแรงกดบนกาวใช้  อัตราอย่างต่ำ  0.2  บาร์ และสูงสุดที่ 1 บาร์ แล้วปล่อยให้กาวแข็งตัว ตามรายละเอียดของคู่มือจากโรงงานผลิตกาว
-คุณสมบัติของการทำแผ่นแซนด์วิช จำเป็นต้องมีการยึดเกาะที่แน่นระหว่างแกนกับผิว ดังนั้นเมื่อใช้กาวติดยึดควรมีการเช็คตรวจสอบความแข็งแรงหลังจากกาวแข็งตัวดีแล้ว
หมายเหตุ: ช่องของแผ่นนิด้าพลาส เมื่อถูกกาวผิวอาจจะทะลุได้หากแผ่นปิดผิวบางเกินไปหรือไม่แข็งพอ การทะลุของกาวจะเป็นผลเสียได้จากการใช้แรงดันอัดกาวมากเกินไป หรือ จากการหดตัวของกาว ขณะกาวแห้งลง

3.3 WORKING UP PREPREGS    
การหลอมเหลวของพลาสติกโพลีโพรไพลีน ที่อุณหภูมิสูงที่  125 ๐C  ทำให้สามารถใช้วิธี PREPREGS  ได้ (ที่อุณหภูมิ  100๐C  แผ่นนิด้าพลาสสามารถทนแรงอันที่ 1  da N/c,2 ได้)

-ตำแหน่งในการ  perpregs บนแผ่นนิด้าพลาส  การใช้แรงดันที่อุณหภูมิต้องการเพื่อให้เกิดการหลอมใหม่ในช่วงเวลาที่ต้องการ  ต้องตรวจสอบด้วยว่าจะไม่มีการพังลงมาของแผ่นนิด้าพลาส เนื่องจากการลื่นไหล อาจแก้ปัญหาโดยการวางแผ่นรองที่บาง ๆ น้อยกว่าความหนาของแผ่นนิด้าพลาส  ในตำแหน่งที่ต้องการยึดไม่ให้เกิดการลื่นไหลของงาน
-การถอดโมลด์ไม่ควรใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะอาจจะทำลาย หรือทำให้การเคลือบแผ่นนิด้าพลาสหลุดออกมาได้

 

 

 

4. การเก็บงานขอบแผ่นแซนด์วิช

4.1 การเก็บงานที่ขอบ FINISHING of EDGES

4.1.1 การเคลือบผิวแผ่นงาน
มีหลายวิธีในการเก็บงานเคลือบผิวชิ้นงาน  การปิดเก็บงานด้วยโพลีเอสเตอร์เรซิ่นสามารถทำให้เก็บขอบงานได้ง่าย ๆ  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ส่วนมากวัสดุที่ใช้เก็บงานมีลักษณะเป็นกรอบหรือคิ้วสำเร็จรูป  วัสดุใช้จะขึ้นกับการใช้งานการทนทานทางกายภาพ และเคมี  ไม้เป็นวัตถุที่ถูกเลือกใช้ได้หลายรูปแบบ  แต่จะต้องมีการเก็บขอบและระวังความชื้น  พลาสติกหรือโลหะสามารถใช้เก็บขอบได้โดยตรง  แต่ต้องวัดขนาดให้แน่นอนพอดี   การติดตั้งกรอบหรือคิ้วสามารถทำได้ ดังแสดงตัวอย่างทั้งก่อนและหลังทำดังรูปต่อไปนี้

 


ระหว่างการผลิต                                                                      หลังการผลิต


 

 

4.1.2 การเชื่อมชิ้นงาน  2  แผ่น


 

4.1.3 การเชื่อมกาว

การเก็บขอบมีหลายวิธีที่ใช้ได้ทำให้แผ่นชิ้นงานที่ใช้มีการเสริมของความแข็งแรงได้ด้วย  การแต่งขอบโดยไม่ต้องการความแข็งแรง  สามารถใช้กาวติดยึดทั้ง 2 ด้านในกรณีแผ่นโลหะ  โดยใช้แค่แผ่นโลหะทับไว้ที่ขอบชิ้นงาน


 

 

4.2.การเสริมความแข็งแรงภายในตัวและการเสริมวัสดุภายนอกเข้าไปในชิ้นงาน 
การยึดติดชิ้นงานแผ่นแซนด์วิช อาจใช้การเพิ่มความแข็งแรงภายในตัวหรือการเสริมจากภายนอกเข้าไปในชิ้นงาน  การเลือกวิธีที่เหมาะสมขึ้นกับการเสริมความแข็งบนชั้นผิวหรือเสริมภายใน การยึดต้องการทำผ่านทะลุแผ่นหรือไม่ก็ได้

 

4.2.1-การยึดโดยไม่ต้องการเจาะทะลุ


4.2.1.1-การรับน้ำหนักน้อย-
การติดยึดแผ่นนิด้าพลาส  และการยึดบนผิว  ถ้ามีการจัดการอย่างพอเหมาะ การยึดสามารถทำด้วยวิธีธรรมดา  เช่น  การใช้หมุดย้ำ  การใช้สลักเกลียว  การยึดตะปูควง ซึ่งยึดติดบนพื้นผิว ถ้าจำเป็นต้องยึดของที่มีการรับน้ำหนักมากขึ้น  ซึ่งการยึดติดบนผิวไม่เพียงพอ การใช้แผ่นโลหะก็มีความแข็งติดด้วยกาว วางไว้ระหว่างแผ่นที่ต้องการยึดดังรูป


 


4.2.1.2–การรับน้ำหนักมาก-

ในการยึดไม่มีการเจาะทะลุ  การแก้ปัญหาโดยทั่วไป  จะทำก่อนปิดเคลือบด้วยแผ่นแซนด์วิช โดยการเสริมเข้าไปภายใน

ตัวของแผ่นนิด้าพลาส  การเสริมแผ่นวัสดุแข็งเข้าไป ภายในเป็นวิธีทำกันเป็นปกติ
วัสดุส่วนใหญ่ที่เสริมเข้าไปคือไม้  แต่โลหะหรือ  เรซิ่น ก็ใช้ได้ตามความเหมาะสม การเสริมจะใส่เข้าไปเต็มช่องหรือบางส่วนของความหนาก็ได้  ดังรูป




 



  • สำหรับแผ่นชิ้นงานที่ต้องการความยึดหยุ่นสูง  อาจจะทำแผ่นเรซิ่นเสริมบนแผ่นชิ้นงานที่เสร็จแล้วได้

    ควรพิจารณาขนาดของแผ่นก็ต้องการเสริมว่า  ต้องการเล็กหรือใหญ่เพียงใด

    ก) การเสริมแผ่นชิ้นงานขนาดใหญ่
    ลอกผิวชั้นบนของแผ่นนิด้าพลาสเฉพาะส่วนที่ต้องการเสริม  เทเรซิ่นเข้าไปในช่องของแผ่นนิด้าพลาส  รอจนเรซิ่นแข็งตัว  ใช้กระดาษทรายขัดผิว  เตรียมสำหรับการเคลือบผิวให้ติดแน่นขึ้น
    ข) การเสริมแผ่นชิ้นงานขนาดเล็ก

    เจาะผิวชั้นบนเป็นรูเล็ก ๆ  เพื่อเสริมเฉพาะช่วง  โดยใช้คัตเตอร์  เจาะเป็นช่องพอที่จะเทเรซิ่น  แล้วจึงใส่เรซิ่นลงไป.

 



4.2.2.การยึดติดที่ต้องการเจาะทะลุ

สามารถทำการยึดได้เลย   อาจจะเสริมตามวิธีที่อธิบายมาแล้ว
ใช้แผ่นโลหะหรือ ท่อพลาสติกรั้งไว้
ใช้อุปกรณ์จับยึดแบบพิเศษ

4.3 การเสริมโดยการใช้ความร้อนหลอมละลาย
เนื่องจากใช้วัสดุโพลีโพรไพรีน   แผ่นนิด้าพลาสจึงง่ายต่อการเสริมด้วยโพลีโพรไพลีนที่ละลายแล้ว การเสริมที่ความหนา    15  มิลลิเมตรเป็นรูปวงกลมสามารถเสริมได้เป็นจุด ๆ ตามต้องการโดยการใช้เครื่องหมุนที่อัตรา  1500  รอบต่อนาที  การกดเบาะ ๆ บนส่วนที่ต้องการเสริม  การหมุนและแรงกดจะทำให้เกิดความร้อน  ซึ่งสามารถหลอมชิ้นงานนิด้าพลาสได้  ชิ้นงานที่ทำแล้ว สามารถเสริมชั้นผิวชิ้นงานได้  การยึดก็ทำได้โดยการใช้น๊อตสลักเกลียวที่มีตัวยึดได้

เอกสารนี้  เป็นเพียงคำแนะนำในการใช้สินค้า  จึงไม่สามารถรับรองถึงผลผลิตที่ได้  ลักษณะการทำงานที่เพิ่มเติมขึ้น  การใช้งานหรือการเปลี่ยนแปลงไปของสินค้า  จึงไม่อยู่ในความควบคุมได้ทั้งหมด  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง  จึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ ที่นำไปดัดแปลงหรือใช้งาน  หรือ  เปลี่ยนแปลงไป  แต่เพียงผู้เดียว

 

บริษัท นีโอเทค อินสเปคชั่น แอนด์ เคมิคัล จำกัด
139 ซ. พระยาสุเรนทร์ ถ.พระยาสุเรนทร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ 10510

โทร : 02-5174955-6 แฟกซ์ : 02-5174957
Mobile 086 3052248, 086 3746588, 086-3369615


 
Home |About Us| Composite Products | Fumigation Products | Contact us
© Copyright 2016 All Rights Reserved.
home_shortcut